ประวัติวัด

ประวัติวัดบางขุนเทียนกลาง
           วัดบางขุนเทียนกลาง ตั้งอยู่เลขที่ ๒ หมู่ ๗  แขวง จอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๗ ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งาน ๔๓ ตารางวา
            อาณาเขต         ทิศเหนือ                      จดกำแพงวัดบางขุนเทียนนอก
                                    ทิศใต้                           จดคูกั้นติดหมู่บ้านสินทวีแมนชั่น
                                    ทิศตะวันออก               จดคลองบางขุนเทียน
                                    ทิศตะวันตก                 จดที่ดินเอกชน
            อาคารเสนาสนะประกอบด้วย
            อุโบสถ กว้าง ๘๒.๓๗ เมตร ยาว ๙๔.๔๘ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน
            ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๗  ดัดแปลงจากทรงไทยใต้ถุนโล่ง เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น  ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ชั้นบนเป็นไม้ทรงไทยสถาพเดิมหลังคากระเบื้องดินเผา
             หอสวดมนต์  กว้าง ๘.๕๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗  ต่อมาดัดแปลงเป็น
 ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีต  ชั้นบนทรงสภาพเดิมทรงไทย
             กุฏิสงฆ์  จำนวน ๑๔ หลัง เป็นอาคารไม้ ๑ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๑๒ หลัง และ ตึก ๑ หลัง
             วิหาร กว้าง  กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐
             ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง ๑๙ เมตร ยาว ๓๓ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑
             ศาลบำเพ็ญกุศล  จำนวน ๓ หลัง  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ หลัง  เป็นครึ่งตึกครึ่งไม้  
๑ หลัง นอกจากนี้มี ฌาปนสถาน หอระฆัง หอกลอง เรือนเก็บพัสดุ กุฏิเจ้าอาวาส เรือนรับรอง ๒ หลัง       
           ปูชนียวัตถุ
           มีพระประธานประจำพระอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๗๖.๕ นิ้ว สูง ๑๐๒ นิ้ว พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว สูง ๔๒ นิ้ว ปูชนีวัตถุอื่นๆ มีเจดีย์ ๘ องค์ รอบอุโบสถ เป็นศิลปะย่อมุม ๒๐ สมัยอยุธยา
            วัดบางขุนเทียนกลาง   ตั้งเมื่อ  พ.ศ. ๒๓๐๐  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๗
           การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม
รูปที่ ๑   พระอธิการวัน                                   พ.ศ.  ๒๔๐๗  ถึง  พ.ศ.  ๒๔๖๔
รูปที่ ๒   พระอธิการเฟี้ยม                               พ.ศ.  ๒๔๖๔   ถึง  พ.ศ.  ๒๔๖๗
รูปที่ ๓   พระสังฆรักษ์เผื่อน                           พ.ศ.  ๒๔๖๗  ถึง  พ.ศ.  ๒๔๗๘
รูปที่    พระเปลื้อง ปภาอุตโม (รักษาการ)    พ.ศ.  ๒๔๗๘  ถึง  พ.ศ.  ๒๔๘๐
รูปที่    พระครูอุดมศีลคุณ                            พ.ศ.  ๒๔๘๐  ถึง  พ.ศ.  ๒๔๙๓
รูปที่    พระครูอมรสมาจารย์                         พ.ศ.  ๒๔๙๓  ถึง  พ.ศ.  ๒๕๔๓
รูปที่ ๗  พระปลัดสมพร  สนฺติกโร                 พ.ศ.  ๒๕๔๓  ถึง  พ.ศ.  ๒๕๔๕
รูปที่    พระครูสิริปัญญารัตน์ (รักษาการ)    พ.ศ.  ๒๕๔๕  ถึง  พ.ศ.  ๒๕๔๖
รูปที่    พระปลัดดำรงค์  ธมฺมธโร                 พ.ศ.  ๒๕๔๗  ถึงปัจจุบัน
การศึกษา  มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐
ประวัติวัดบางขุนเทียนกลาง จาก หนังสือ น. ณ ปากน้ำ
ได้ เขียนประวัติวัดบางขุนเทียนกลางไว้ว่า วัดบางขุนเทียนกลางอยู่ในบริเวณที่เป็นเกาะติดกับวัดบางขุนเทียนนอกเพียงมี คูคั่นจนจะเหมือนเป็นวัดเดียวกัน
บาง คนเชื่อว่าเดิมคงเคยจะเป็นวัดเดียวกันมาก่อนด้วยโดยมีอุโบสถอยู่ที่วัด บางขุนเทียนนอก ส่วนอุโบสถวัดบางขุนเทียนกลางนั้นเดิมเป็นพระวิหารแล้วมาได้วิสุงคามสีมา เป็นอุโบสถในภายหลัง
เกี่ยว กับเรื่องนี้เล่ากันว่า ในสมัยอยุธยามีเศรษฐีพี่ชายและน้องสาวสองคน จะทำสิ่งใดมักจะร่วมทำเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ทั้งผ้าป่า กฐิน กระทั่งช่วยกันสร้างวัดบางขุนเทียนจนเสร็จลุล่วงไปด้วยดี
เมื่อ สร้างวัดบางขุนเทียนเสร็จแล้วเกิดแตกคอผิดใจกันเนื่องจากพี่ชายได้ขอจองกฐิน ปีนั้นโดยไม่บอกกล่าวน้องสาวทำให้น้องสาวโกรธมากหาว่าพี่ชายถือตัวว่ารวยจึง จองบุญกฐินคนเดียวทั้งๆ ที่เคยทำบุญร่วมกันมาเสมอ จนกระทั่งพี่ชายให้คนไปยืมเครื่องของใช้เตรียมงานบุญก็ไม่ยอมให้แถมสั่งคน ของตนไปขุดคูคั่นจนกลายเป็น ๒ วัดเรื่อยมา กระทั่งเกิดสงครามกับพม่าจึงกลายเป็นวัดร้างไป
คูคั่นวัดทั้งสองตามลักษณะน่าจะเป็นคูที่ขุดเป็นลำประโดงชักน้ำเข้าใช้ในสวน
วัด ทั้งสองมาได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลาลที่ ๓ น.  ณ ปากน้ำเคยไปสำรวจมานานแล้วพบว่าลักษณะทรวดทรงของอุโบสถมีเค้าศิลปะแบบอยุธยา แล้วมาได้รับการซ่อมแซมในสมัยรัชกาลที่ ๓ เดิมมีสภาพปูนปั้นเป็นรูปภูเขา สัตว์ต่างๆ ตามลักษณะนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อชำรุดหักพังมากๆ จึงมีการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงใหม่
 นอกจากนั้นยังพบว่ามีพระพุทธรูปยืนหล่อโลหะทั้งแบบอู่ทองและพระหล่อโลหะอื่นๆ สมัยอยุธยาอีกด้วย  ส่วน เจดีย์ใหญ่ที่อยู่สองข้างอุโบสถนั้น น. ณ ปากน้ำเข้าใจว่าเดิมคงเป็นเจดีย์แบบย่อมุม ๑๒ แล้วมาแก้ไขเป็นย่อมุม ๒๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ หรือไม่อาจจะสร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทั้งหมดเลยก็ได้ แต่ก็ยังไม่ปลงใจสนิทนักเพราะเห็นว่าน่าจะต้องพิจารณาหลักฐานอื่นๆ เช่น พระพุทธรูป     ใบเสมา อุโบสถประกอบกันไปอย่างละเอียดต่อไปอีก
 สมัย รัชกาลที่ ๕ เล่ากันว่าพระพุทธเจ้าหลวงมีศรัทธาเลื่อมใสสมภารวัน เจ้าอาวาสวัดบางขุนเทียนกลาง และ สมภารปานเจ้าอาวาสวัดบางขุนเทียนนอก เพราะพระทั้งสองเป็นพระนักเทศน์เคย ได้รับนิมนต์เข้าไปเทศน์และสวดในวังหลวงหลายครั้ง โดยสมภารวันวัดกลางเก่งเทศน์ทานกัณฑ์ และ สมภารปาน วัดนอกเก่งเทศน์กัณฑ์มัทรี พระครูอมรสมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดบางขุนเทียนกลาง ซึ่งเป็นหลานของสมภารวัน เล่าเสร็จก็นำตาลปัตรเก่าที่สมภารวันได้รับพระราชทานมาให้ดูเป็นหลักฐานด้วย คือ พัด จปร. พัดเสาวภาผ่องศรี ปี ๒๔๕๖ และพัดรัชกาลที่ ๖ ปักเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณที่ออกแบบโดย สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
อดีต เจ้าอาวาสเล่าสืบต่อกันมาว่าพระพุทธเจ้าหลวงเคยเสด็จประพาสต้นมาแถวนี้หลาย ครั้ง แต่งตัวแบบคนจีนใส่เสื้อกุยเฮง นุ่งกางเกงแพรปั๋งลิ้น เคยเสด็จประทับวัดบางขุนเทียนกลางที่ศาลาท่าน้ำหลังที่ชาวบ้านเรียกว่า ศาลายาวซึ่งปัจจุบันได้อนุรักษ์ไว้คงสภาเดิม  และได้เล่าต่อไปว่าในการเสด็จประพาสต้นนั้นพระองค์เสด็จออกช่วงเช้าเข้าถึงบางขุนเทียนตอนกลางวันเข้ามาทางแม่น้ำเจ้าพระยาดาวคะนอง ขากลับ กลับคลองสนามชัย คลองด่าน ในตอนเย็น เพราะเกี่ยวกับน้ำขึ้นน้ำลงที่จะเดินเรือได้สะดวก
คน รุ่นเก่าเล่าสืบต่อกันมาว่าบรรดาเด็กวัดบางขุนเทียนนอกกับเด็กวัด บางขุนเทียนกลาง แต่ก่อนไม่ค่อยจะลงลอยกัน มีเรื่องทะเลาะกันบ่อยๆ จนกระกระทั่งผู้บริหารการศึกษาอำเภอบางขุนเทียน ตอนนั้นคือศึกษาธิการบางขุนเทียนชื่อ ไข่ บุนปาน (บิดาของขรรค์  บุ นปาน) ได้คิดแก้ไขปัญหาการเป็นอริกันของเด็กในย่านวัดทั้งสองนี้ด้วยการสร้าง โรงเรียนประถมศึกษาคร่อมคูน้ำที่แบ่งเขตวัดให้เด็กวัดทั้งสองวัดได้เรียน ร่วมกัน เมื่อโตขึ้นจึงเป็นเพื่อนกันเรื่อยมา ปัญหาเด็กวัยรุ่นต่างวัดเพียงคูคั่นมีสะพานเชื่อมในอดีตจึงหมดไปและกลายเป็น เรื่องเล่าขานกันมาจนทุกวันนี้
ปัจจุบัน นี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โรงเรียนก็ย้ายจากที่เดิมไปในพื้นที่ของวัดบางขุนเทียนนอก คู่คั่นน้ำก็ทำการถมได้สร้างเป็นกำแพงขึ้นมาแทนลบร่องรอยในอดีตไปหมดแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น